ในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มีทั้งป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ ป่าชนิดนี้เป็นตัวแทนของป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประชาชนที่อาศัยอยู่ในตัวเมือง และอาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงพื้นที่ป่าหนองระเวียง มีโอกาสที่จะสัมผัสกับความงามของธรรมชาติป่าผืนนี้ได้เป็นอย่างดี
Randia tomentosa Hook.f.
เป็นไม้พุ่มขนาดย่อม ลำต้นและกิ่งก้านทรงกระบอก กิ่งแตกออกเกือบขนานกับพื้น ตามกิ่งก้านและลำต้นมีหนามแหลมยาวราว 1-2 นิ้ว ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ใบรูปไข่กลับปลายมน มีขนอ่อนปกคลุมตลอดใบ เมื่อต้นสูงราว 2 ม. จะมีลักษณะยอดบิดคดไปมา คล้ายใบบอนไซ พุ่มยอดรูปปลายตัด เกิดตามป่าดิบและป่าแล้งทั่วไป หนามแท่งมีอยู่สองชนิด คือ หนามแท่งดำ กับ หนามแท่งขาว หนามแท่งดำ ปลายหนามจะมีสีดำ หนามแท่งขาวปลายหนามจะมีสีขาวหรือแดง หมอนิยมใช้หนามแท่งดำ .
Xylia xylocarpa.
แดง เป็นไม้ที่ชอบขึ้นในป่าเต็งรัง, ป่าเบญจพรรณ และป่าสัก กระจายพันธุ์ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยขึ้นได้ทั่วทุกภาค เป็นไม้ที่ใช้ประโยชน์ ด้วยการใช้เนื้อไม้ในเชิงอุตสาหกรรมป่าไม้ ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ และเครื่องใช้ต่าง ๆ เนื้อไมีสีแดงเรื่อ ๆ หรือสีน้ำตาลอมแดง เสี้ยนเป็นลูกคลื่น หรือมักสน เนื้อละเอียดพอประมาณ มีความแข็งแรง มีความถ่วงจำเพาะประมาณ 1.18 ดอก เปลือกและ แก่นใช้บำรุงหัวใจ แก้ไข้ แก้ช้ำใน แดงเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดตาก และมีชื่อเรียกต่างออกไปตามแต่ละท้องถิ่น อาทิ "คว้าย" (เชียงใหม่, กาญจนบุรี), "ไคว" (แพร่ แม่ฮ่องสอน) "จะลาน, จาลาน, ตะกร้อม, สะกรอม" (จันทบุรี), "ปราน" (สุรินทร์).
Shorea siamensis Miq.
เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงถึง 20 เมตร เปลือกลำต้นสีเทา แตกเป็นร่องเป็นสะเก็ดหนาๆ ไปตามยาวลำต้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ติดเรียงสลับ รูปไข่โคนใบหยักเว้าลึก ส่วนปลายใบค่อนข้างข้างมนใบอ่อนแตกแตกใหม่เป็นสีแดง ดอก เป็นช่อ ออกรวมกันเป็นพวงโตเหนือรอยแผลใบตามกิ่งและปลายกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองกลิ่นหอมอ่อน จะออกหลังจากใบได้หลุดร่วงไปหมดแล้ว กลีบดอกมี 5 กลีบ เรียงเวียนซ้อนกันเป็นรูปกังหัน ปลายกลีบม้วนซ้อนเข้า ดอกจะหลุดร่วงง่ายมาก ผล แข็ง รูปกระสวย หรือรูปไข่เล็ก ประกอบด้วยปีสั้น 2 ปีก ปีกยาวรูปใบพาย 3 ปีก อาจยาวถึง 10 ซม. โคนปีกห่อหุ้มตัวผล มีเส้นตามยาวของปีก ตั้งแต่ 7 เส้นขึ้นไป เนื้อไม้แข็ง นิยมนำทำสิ่งปลูกสร้างที่ต้องการความแข็งแรง และรับน้ำหนักมาก เช่น ทำพื้น รอด ตง คาน ทำส่วนประกอบของยานพนะและด้ามเครื่องมือการเกษตรต่างๆ.
Phyllanthus emblica.
เป็นต้นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ Phyllanthaceae เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง และมีคุณค่าทางสมุนไพรด้วย มะขามป้อมเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสระแก้ว มีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกคือ กันโตด (เขมร - กาญจนบุรี) กำทวด (ราชบุรี) มะขามป้อม (ทั่วไป) มั่งลู่, สันยาส่า (กะเหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน) มะขามป้อมจัดเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงที่สุด ในบรรดาผลไม้ทั้งหมด เพราะมะขามป้อมลูกเล็กๆเพียงลูกเดียว ให้วิตามินซีสูงกว่าวิตามินซีสังเคราะห์ถึง 12 เท่า และมากกว่าน้ำส้มคั้นถึง20 เท่า ใช้รับประทานเพื่อบรรเทาหวัด แก้ไอ และละลายเสมหะได้[3] มีแทนนินซึ่งมีฤทธิ์ในการต้านออกซิเดชัน ต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ยับยั้งการสร้างเมลานิน และสามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส (Tyrosinase) ได้ ชาวกะเหรี่ยงใช้ย้อมผ้าให้สีเทา
Kaempferia marginata Carey.
เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ Zingiberaceae ชื่ออื่นๆ ตูบหมูบ (อุบลราชธานี) เปราะเถื่อน (ปราจีนบุรี) เปราะเขา เป็นพืชล้มลุก เหง้าสั้น ขนาดเล็ก เหง้าหลักทรงกลม สีน้ำตาล ที่ผิวมีรอยข้อปล้องชัดเจน ออกรากจากเหง้าหลักเป็นเส้นกลมยาว เหง้าใต้ดิน มีกลิ่นหอม รสเผ็ดจัด เปราะป่าเป็นพืชสมุนไพร ตำรายาไทยใช้ เหง้าใต้ดิน แก้ไข้ แก้หวัด แก้กำเดา ขับลมในลำไส้ ตำผสมกับหัวหอม สุมกระหม่อมเด็ก แก้หวัด แก้กำเดา ทางภาคอีสาน ใช้ เหง้าใต้ดิน ตำพอก แก้อาการอักเสบ เนื่องจากแมลงสัตว์ กัดต่อย หรือผสมใบหนาดใหญ่ ต้มน้ำดื่ม แก้อัมพาต ทางจังหวัดมุกดาหารใช้เข้าตำรับยาอายุวัฒนะ ทางจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ หัว มีกลิ่นหอม รสร้อน ขมจัด ทำลูกประคบ แก้ฟกช้ำ ใช้แก้ไข้ แก้หวัด แก้กำเดา ขับลมในลำไส้.
Lannea coromandelica.
เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Anacardiaceae เปลือกสีน้ำตาลปนเทา แตกเป็นสะเก็ดรูปสี่เหลี่ยม ใบประกอบแบบขนนก ดอกช่อ สีเหลืองอ่อน ออกดอกแล้วจะทิ้งใบหมด ผลขนาดเล็ก สุกแล้วสีเหลืองหรือแดง เป็นพืชที่รับประทานได้ โดยนำยอดอ่อนมารับประทานเป็นผัก รากสะสมน้ำไว้มาก สามารถตัดรากแล้วรองน้ำมาดื่มได้ นิยมนำรากไปผสมในยาตำรับต่างๆเพื่อให้รสดีขึ้น.
Wrightia arborea.
ลักษณะเป็นไม้ต้นผลัดใบ สูงได้ถึง 20 เมตร ใบรูปรียาว 3-18 เซนติเมตร ก้านใบยาว 2-7 มิลลิเมตร ช่อดอกยาว 2-7 เซนติเมตร ก้านดอกยาว 0.5-1 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงรูปไข่ ยาว 1-3 มิลลิเมตร ดอกสีขาวอมเขียว เหลืองอ่อนหรือสีชมพู หลอดกลีบดอกยาว 3-7 มิลลิเมตร กลีบรูปขอบขนานยาว 0.8-1.5 เซนติเมตร โคนเรียว มีกะบัง 2 ชั้นแผ่กว้าง ด้านนอกมีขนกระจาย กะบังหน้ากลีบดอกแนบติดกลีบดอกประมาณกึ่งหนึ่ง จักเป็นคลื่น กะบังระหว่างกลีบดอกรูปตัววี สั้นกว่ากะบังหน้ากลีบดอกเล็กน้อย เกสรเพศผู้ติดบนคอหลอดกลีบดอก อับเรณูยาว 5-6 มิลลิเมตร รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียรวมยอดเกสรยาว 6-8 มิลลิเมตร ผลรูปกระสวยติดกัน แห้งแยกกัน ยาว 10-34 เซนติเมตร มีช่องอากาศ เมล็ดยาว 1.5-1.7 เซนติเมตร กระจุกขนยาว 5-6 เซนติเมตรโมกมันนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เปลือกต้นและรากใช้แก้พิษสัตว์กัดต่อยและโรคไต นอกจากนี้ยังใช้ย้อมสีได้ เนื้อไม้ใช้ทำของใช้.
Rauwenhoffia siamensis.
เป็นพรรณไม้ยืนต้นมีกลิ่นหอม ลำต้นมีขนาดย่อม สูง 1-2 เมตร ลำต้น กิ่ง และก้านมีสีคล้ำ ใบจัดเป็นใบเดี่ยว ลักษณะแหลมยาว ดอกเป็นดอกเดี่ยวออกเป็นกล่ม กลุ่มละ 1-3 ดอก ดอกมี 6 กลีบ สีเหลืองอมเขียว ขนาดใหญ่ประมาณ 1-2 เซนติเมตร ออกดอกตลอดทั้งปี ผลนำมาตำผสมกับน้ำใช้ทาแก้เม็ดผื่นคันตามร่างกาย รากใช้เป็นยาแก้โรคผอมแห้งของสตรีอันเนื่องมาจากคลอดบุตรแล้วอยู่ไฟไม่ได้ ตามความเชื่อของคนโบราณจะใช้ยอดใบอ่อนประมาณ 5-7 ใบนำมาผสมกับน้ำปูนขาวและน้ำพอประมาณ แล้วขยี้เป็นเนื้อละเอียดแตกเป็นฟองสีเหลือง ใช้ทารอบเต้านม จะช่วยทำให้เด็กที่หย่านมยาก หย่านมได้ เพราะใบอ่อนของต้นนมแมวนั้นมีรสขม ซึ่งทำให้เด็กไม่ชอบ และทำให้หย่านมได้ง่าย .
Siphonodon celastrineus Griff.
ไม้ต้น สูง 10-25 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน รูปขอบขนาน ขอบใบมักจะเป็นซี่ฟันตื้นๆ บางจักห่างหรือแทบมองไม่เห็นชัด เนื้อใบค่อนข้างหนาคล้ายแผ่นหนัง เส้นใบมี 6-10 คู่ ก้านใบยาว 0.5-2 ซม. ดอกสีขาวครีม ออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ มี 2-3 ดอก ก้านช่อดอกยาว 0.5-1.5 ซม. ก้านดอกย่อยยาว 5-11 มม. บางที่มีจุดสีน้ำตาลแดง กลีบรองดอก 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกันปลายแยกรูปไตหรือกึ่งกลม กลีบดอกรูปไข่ 5 กลีบซ้อนทับกัน กว้าง 1.7-2.5 มม. ยาว 2.2-3.5 มม. ปลายมน เกสรผู้ 5 อัน ก้านเกสรผู้แบน ยาวประมาณ 1 มม. เชื่อมติดกันที่ครึ่งหนึ่ง หรือใกล้ๆ โคนดอก ผลรูปรีกว้างหรือรูปกลม สีเขียวหรือเขียวอมเหลือง กว้าง 2-6 ซม. ยาว 3-6.5 ซม ผลสุกรับประทานได้ รากใช้ต้มรับประทานแก้พิษฝีภายใน บำรุงกระดูก ดับพิษในกระดูก น้ำเหลืองเสีย ผื่นคัน.